พลังงานทดแทนใหม่

พลังงาน กับ การแก้ปัญหาสภาวะเรือนกระจกซึ่งทำให้โลกร้อน
ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราทั้งหลายใช้พลังงานความร้อนกันเป็นอันมากซึ่งมีผลกระทบต่อโลกในทางที่เลวร้าย และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยากที่จะแก้ไขแล้วในขณะนี้
ถ้าพวกเราชาวมนุษย์โลก ไม่หยุดการใช้พลังงานความร้อนซะตั่งแต่ตอนนี้ ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ซึ่งลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศในสภาพเรือนกระจกนั้น จะมีอายุยืนอยู่ถึง 100 ปี ลูกหลานของเราจะเป็นผู้รับมรดกอันเลวร้ายน้ จากพวกเราซึ่งเป็นผู้กระทำ
วิธีแก้ไขอย่างได้ผล
เราต้องหยุดการใช้พลังงานความร้อนจากน้ำมัน และพลังงานทุกชนิดที่ปล่อยก๊าซ คาบอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก
ถ้าไม่ใช้พลังงานความร้อนแล้วจะใช้พลังงานอะไรกัน
คำตอบคือ
ณ ตอนนี้ ได้มีผู้ทำการวิจัยพลังงานทดแทนใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาใหญ่ ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ พลังงานทดแทนใหม่นี้คือ เครื่องจักรกลพลังงานความเย็น ทุกคนจะเคยได้ยินแต่ เครื่องจักรกลพลังงานความร้อนกัน ใช่ไหมครับ แต่นี้กลับกลายเป็น เครื่องจักลกลพลังงานความเย็น แล้วมันใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานอะไรกันแน่
ครับ เชื่อเพลิงนั้นอยู่ในรูปแบบของของเหลว ซึ่งจะต้องดูดและแยกออกมาจากอากาศ และถูกนำมาใช้กับเครื่องจักรกลแนวใหม่ ซึ่งเครื่องจักรกลชนิดนี้จะดึงดูดเอาพลังงานความร้อนจากอากาศเข้ามาและแปลเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกล จากนั้นก็ใช้ก๊าซในอากาศที่ถูกกลั่นให้เป็นของเหลวเข้ามาทำปฏิกิริยากันภายในเครื่องจักรนั้น เครื่องจักรจะให้พลังงานกล และปลดปล่อยความเย็นออกมาทิ้งสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่อุณหภูมิ ลบ 50 องศาC ซึ่งแน่นอนที่สุดครับ เครื่องจักรพลังงานความเย็น พลังงานทดแทนใหม่นี้จะช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ๆของโลกได้ถึง 2 ปัญหาเลยที่เดียว
1 สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิงได้ และเราจะมีพลังงานทดแทนให้ใช้กันอย่างเกินพอครับ
2 สามารถแก้ไขปัญหาสภาวะเรือนกระจกได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งจะทำให้โลกเย็นลงได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ยังคงค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นจะไม่เป็นผลอีกต่อไป

การแก้ปัญหาโลกร้อน


แล้วเราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร
เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก
แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว



10 อย่างง่ายๆ แก้ปัญหาโลกร้อน
1. เปลี่ยนหลอดไฟ
การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นฟลูออเรสเซนต์หนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
2. ขับรถให้น้อยลง
หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนต์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์
3. รีไซเคิลให้มากขึ้น
ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งนึงจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี
4. เช็คลมยาง
การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ
น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 20 ปอนด์
5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง
ในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด ์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็น จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ปีละ 500 ปอนด์
6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ
เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 1200 ปอนด์ต่อปี
7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก)
ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง 2 องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น 2 องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี
8. ปลูกต้นไม้
การปลูกต้นไม้หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้
ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี
และอย่างสุดท้าย
10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้ครับ

การป้องกัน

ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้
1. การลดระยะทาง

2. ปิดเครื่องปรับอากาศ
3. ลดระดับการใช้งานของเครื่องใ้ชไฟฟ้า
4. Reuse
5. การรักษาป่าไม้
6. ลดการใช้น้ำมัน


ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร
เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
ให้ เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้


ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก
โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่า ไฟฟ้า แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่

ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด
เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่ หรือลดจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่งผลมหาศาลต่อโลก

Reuse นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่
พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย

รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า
เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป

ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ
เช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว และทดลองเดินให้มากที่สุด

ผลกระทบด้านสุขภาพ


ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ


รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท
รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า
ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้

ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา


แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด
ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก
แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน



แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที
มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย

แบบประเมินบล็อก

เนื้อหาเกี่ยวกับ:
ปรากฎการณ์ต่างๆของภาวะโลกร้อน
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในเรื่องภาวะโลกร้อน สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนตื่นตัว และตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
2. เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยปัจจุบันและในอนาคต


คะแนนการประเมิน
มากที่สุด = 5
มาก = 4
ปานกลาง= 3
น้อย = 2


1.เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ =4
2.การออกแบบ =4
3.ความเรียบง่าย =4
4.ความน่าสนใจ =4
5.ความทันสมัย =4
สรุปคะแนน = 20เต็ม25

ปรากฏการณ์เรือนกระจก


ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร?
"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
เรือนกระจก ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ เรือนกระจก(greenhouse effect) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง
- การผลิตซีเมนต์
- การเผาไม้ทำลายป่า
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
• คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
• มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ
• CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
• Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ก๊าซเหล่านี้เช่น CFC จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน พวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
• ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS)
• ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS)
• ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน

กลไกของสภาวะโลกร้อน

ในสภาวะปกติ โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบของการแผ่รังสี พลังงานที่เหลือมาจากความร้อนใต้ภิพซึ่งหลงเหลือจากการก่อตัวของโลกจากฝุ่นธุลีในอวกาศ และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในโลก
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาโลกเราสามารถรักษาสมดุลย์ของพลังงานที่ได้รับอย่างดีเยี่ยม โดยมีการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีจากโลกจนพลังงานสุทธิที่ได้รับในแต่ละวันเท่ากับศูนย์ ทำให้โลกมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลาย
กลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็น
การณ์กลับกลายเป็นว่าในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โลกเราได้มีการสะสมแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคย ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสมือนกับโลกเรามีผ้าห่มที่หนาขึ้นนั่นเอง

สาเหตุของภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์
จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน
ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีโครงการพลังงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์วิทยาตามแนวชายฝั่ง และจากการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสีของน้ำทะเล ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน
ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีชายฝั่งทะเล ที่มีความยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความไม่แน่นอนของฤดูการที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม มีการคาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง สถานที่ตากอากาศชายทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และ ระยองจะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้เช่นกัน
ปัญหาด้านสุขภาพ ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของยุ่งมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับการให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ยังมีไม่เพียงพอ
ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ้งชัด ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือ มีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา
2. มีความคงตัว (consistent): เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน
3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว
4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่
5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย
6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง
7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา
8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้
9. ความคมชัด (resolution) ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น
10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

ขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
1.1 กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์- กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์ให้ชัดเจน เพื่อเป็นตัวกำหนดขอบเขตของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายเป็นกลุ่มตามความสำคัญ เพื่อให้ผู้พัฒนาได้เห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญเป็นลำดับแรก- ระบุวิธีวัดความสำเร็จ เพื่อประเมินผลความสำเร็จของเว็บตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจวัดจากการเพิ่มยอดขายที่มากขึ้น หรือมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึน้ หรือวัดจากปริมาณผู้ที่เข้ามาอ่านข้อมูล เป็นต้น- พิจารณาทรัพยากรที่มี อันได้แก่ บุคลากร เงินทุน ระยะเวลา และเนื้อหา
1.2 กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ใคร มีลักษณะอย่างไร เพื่อจะได้ออกแบบเว็บไซต์ได้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้หลัก- ค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อสร้างความสำเร็จดังนั้น เว็บจะต้องตอบคำถามของผู้ใช้ได้ว่าต้องการอะไร และจะได้ประโยชน์อะไรจากเว็บบ้าง- ศึกษาว่ามีเว็บใดบ้างที่ให้บริการคล้ายกัน โดยสำรวจถึงเนื้อหา ลักษณะการออกแบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละเว็บ เพื่อนำมาประกอบการกำหนดขอบเขตและลักษณะการออกแบบของเว็บไซต์

ขั้นตอน และกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 1 : เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับพัฒนาเว็บไซต์
1. กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
2. เนื้อหาสำหรับจัดทำเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 2 : พัฒนาเนื้อหา (Site Contact)
1. สร้างกลยุทธ์การนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ เป็นที่น่าสนใจ
2. กำหนดขอบเขตเนื้อหาที่จะนำเสนอ
3. จัดรูปแบบเนื้อหาข้อมูลให้ถูกต้องอย่างมีระบบ

ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
1. จัดทำแผนผังโครงสร้างข้อมูล
2. พัฒนาระบบเนวิเกชั่น

ขั้นตอนที่ 4 : ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Visual Design)
1. ออกแบบลักษณะหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. พัฒนาเว็บเพจต้นแบบที่จะใช้สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์
3. พัฒนาเครื่องมือสำหรับ Update หรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆในเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production and Operation)
1. ใส่ข้อมูล และเนื้อหาที่จะนำเสนอลงในหน้าจอโฮมเพจ และเว็บเพจ
2. เปิดตัวเว็บไซต์ และทำให้เป็นที่รู้จัก
3. ดูแล และพัฒนาต่อเนื่อง

หลักการสร้างเว็บไซต์
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะทำอะไรท่านต้องมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน การทำเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกัน ท่านจะต้องมีจุดหมายว่า ท่านจะทำเพื่ออะไร เพื่อใครเมื่อท่านมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัดแล้ว จะทำให้ท่านมองเห็นเป้าหมายในการทำงานได้ชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น นอกจากเรื่องการถ่ายภาพและเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาแล้ว ผมยังมีความสนใจเรื่องของช้างถ้าจะทำเว็บไซต์ผมก็จะทำเรื่องช้าง โดยมีจุดหมายเพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน และกลุ่มเป้าหมายของผมคือคนที่สนใจเรื่องช้างและเรื่องธรรมชาติ เป็นต้น
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เมื่อท่านได้เรื่องราวที่จะนำเสนอ โดยมีจุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมายแน่ชัดแล้ว ก็ถึงขั้นตอในการรวบรวมแหล่งข้อมูล ผมยกตัวอย่างเรื่องช้างอีกนะครับ ผมก็จะค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งที่เป็นเนื้อหา รูปภาพเสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหว เพราะทั้งหมดสามารถนำเสนอผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตได้ พอได้ข้อมูลมากพอแล้ว ก็ไปต่อขั้นตอนต่อไปเลยครับ
3. ศึกษาและเรียงลำดับข้อมูล เมื่อท่านได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องมานั่งอ่านมานั่งศึกษากันว่าส่วนไหนที่เกี่ยวข้องกันบ้าง พอจะแยกเป็นหมวดเป็นหมู่ได้หรือเปล่า เช่น ผมหาข้อมูลเรื่องช้างมาได้พอสมควร ผมก็จะมาแยกแยะ ดังนี้ ประวัติของช้างตั้งแต่ดึกดำบรรพ์, วิวัฒนาการของช้าง, ประเภทของช้าง ช้างไทย, ระโยชน์ของช้าง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อได้หัวข้อหลักๆ แล้ว หัวข้อย่อยก็จะตามมาเองครับ
4. การออกแบบสาร (Message Design) เมื่อท่านได้เนื้อหาและหัวข้อในการนำเสนอแล้ว ต่อไปก็๋เป็นการออกแบบเนื้อหาให้น่าสนใจ ถ้าตามหลักของเทคโนโลยีการศึกษาเราจะเรียกว่าการออกแบบสาร (Massage Design) การออกแบบสารนี้นอกจากเนื้อหาแล้ว ยังรวมไปถึงองค์ประกอบต่างในการนำเสนอด้วย เช่น สีของตัวอักษร, ภาพประกอบ, กราฟิกต่างๆ เสียง ฯลฯ เหล่านี้จะต้องสื่อความหมายไปในทางเดียวกันกับเนื้อหาด้วย นอกจากนี้ ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกันเช่น สีของตัวอักษร หรือ ปุ่ม (button) ในการเชื่อมโยง (link
5. ทำแผนผังของงาน (Flowchart) ขั้นตอนนี้จะทำให้ท่านลำดับเรื่องราวได้ง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยง (link) เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน นักออกแบบบางคนอาจใช้กระดาษสติกเกอร์แปะไว้บนบอร์ด ตามลำดับของเนื้อหาเพราะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะใช้วิธีการเขียนบนไวท์บอร์ดด้วยปากกาที่ลบได้
6. การเขียน (Storyboard) หากท่านเคยทำงาน Presentation มาก่อนก็คงจะทราบว่าประโยชน์ของ Storyboard นั้นมีมากมาย เพราะจะทำให้มองเห็นภาพหน้าจอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าหากท่านใดมีฝีไม้ลายมือในเชิงศิลปะแล้ว ก็๋จะทำให้การทำงานง่ายขึ้นไปอีก เมื่อครั้งผมทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นจะมีกระดาษ Storyboard สำหรับออกแบบโดยเฉพาะและว่ากันเป็น Pixel เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจจะมองภาพไว้ใจแล้วนั่งทำหน้าจอเลยก็ได้
7. ลงมือทำ งานการใดๆ ถ้าไม่ลงมือทำ ก็ย่อมไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นขั้นตอนนี้ ไม่ขอกล่าวมากนัก ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ จะไปว่ากันใน หัวข้อ "เครื่องมือในการสร้างเว็บเพจ" เพราะหน้านี้ยาวเกินทฤษฎีแล้ว
8. ทดสอบและประเมินผล หลังจากที่ท่านทำเสร็จทุกขั้นตอนของการทำเว็บเพจแล้ว ก็ควรจะมีการทดสอบและประเมินผลจากตัวท่านเองก่อน โดยสมมติว่าท่านเองเป็นผู้ชมคนหนึ่ง ควรดูการเชื่อมโยงว่า สีเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน้าและใช้การได้หรือเปล่า ภาพหรือกราฟิกตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จากนั้นให้แนะนำเพื่อนฝูงให้ดูและช่วยตรวจสอบอีกที หากพบข้อบกพร่องก็ควรแก้ไข ก่อนจะประชาสัมพันธ์ต่อไป

เริ่มต้นกับการสร้างเว็บไซต์ก่อนอื่น ๆ เรา มาทำความรู้จัก กับ "Web Presentation" กันก่อน จะว่าไปแล้วกระบวนการจัดสร้างเว็บไซต์นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ เท่าใดนัก ท่านใดที่เคยทำงาน Presentation หรือผ่านการทำสื่อประเภทต่างๆ เช่นการทำสไลด์ การทำรายการโทรทัศน์ การนำเสนอผลงานด้วยโปรแกรม PowerPoint หรือการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instruction : CAI) สิ่งเหล่านี้ล้วนมีกระบวนการไม่แตกต่างกันมากมายเท่าใดนัก การนำเสนอบนเว็บนั้นก็จัดเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร เราลองมาดูนะว่ารูปแบบและกระบวนการสื่อสารนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง กระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบ 4 ส่วน ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) ซึ่งก็คือเรานั่นเอง
2. สาร (Message) หมายถึง สิ่งที่เราต้องการนำเสนอ
3. สื่อหรือช่องทาง (Medium/Channel) หมายถึง ตัวกลางหรือสิ่งที่จะนำสารที่เราต้องการต้องการนำเสนอไปสู่ผู้รับ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ต่างๆ และในที่นี้ก็คงจะเป็น Web Site นั่นเอง
4. ผู้รับ (Receiver) ก็คือผู้รับสาร และการนำเสนอผ่าน WWW นั้นผู้รับสาร เรามีมากมายทั่วโลกที่จะเข้ามาชม Web ของเรา ดังนั้นในการออกแบบและจัดทำนั้นเราควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เรามีเป้าหมายในการทำงาน

ภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง